Archive | เมษายน 2014

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในงานก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน คือ

  1. การวางแผ่นคอนกรีต ให้มีระยะห่างกัน 2.00 เมตร ส่วนบริเวณที่มีการต่อท่อให้วางแผ่นคอนกรีตห่างกัน 60 ซม.
  2. ต้องปูแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนวท่อ และวางเทปเตือนอันตรายที่ระดับเหนือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็ก
  3. ในบริเวณชุมชนหรือตัวเมืองให้ติดตั้งหลักบอกแนวสายเคเบิลใต้ดิน

ข้อแนะนำในการควบคุมงานการก่อสร้างแบบฝังดินโดยตรง

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในงานก่อสร้างแบบฝังดินโดยตรง คือ

  1. พื้นที่ท้องร่อง ต้องได้ระดับมากที่สุด และต้องใส่ทรายอัดแน่นลงไปในแนวร่องหนา 15 ซม. ตลอดแนว โดยทรายต้องไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ เช่น เศษหิน เศษแก้ว หรือสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อสายเคเบิล
  2. การวางสายเคเบิลใต้ดินต้องวางให้สายแต่ละเส้นห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของสายเคเบิลใต้ดิน
  3. ต้องปูแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนวสาย และวางเทปเตือนอันตรายที่ระดับเหนือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็ก
  4. ในบริเวณชุมชนหรือตัวเมืองให้ติดตั้งหลักบอกแนวสายเคเบิลใต้ดิน

การเตรียมงานสำหรับดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน

ถึงแม่ว่าในการปฏิบัติงานจะมีเครื่องมือและเทคนิคมากมายหลายอย่าง ซึ่งจะช่วยในการวางสายเคเบิลใต้ดินได้มา แต่ถ้าหาปราศจากการเตรียมการที่ดีพอ การปฏิบัติงานก็อาจจะไม่สามารถดำเนินงานได้สะดวก ปัญหามากมายย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นแก่สายเคเบิลใต้ดิน ผู้ปฏิบัติงาน และผู้สัญจรผ่านไปมา การเตรียมการที่ดีย่อมหมายถึงการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดการใช้เครื่องมือเกินความจำเป็น และสามารถนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างเหมาะสาม รวมถึงลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ ลักษณะของงานติดตั้งสายเคเบิลใต้ดินที่อยู่ในตัวเมือง ซึ่งมีปัญหาการจราจรติดขัด จะต้องมีการวางแผน และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ในการเตรียมการจึงควรที่จะไปสำรวจตำแหน่งสถานที่ ที่จะปฏิบัติงานก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง

การตรวจสอบท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดิน

ก่อนที่จะร้อยสายเคเบิลใต้ดิน ต้องตรวจสอบท่อร้อยสายก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าท่อไม่ตันและไม่มีสิ่งกีดขวาง ซึ่งอาจจะทำให้สายเคเบิลใต้ดินชำรุดเสียหาย เป็นอุปสรรในการร้อยสาย หากต่อกันไม่สนิทหรือเหลื่อมล้ำกันอยู่จะทำให้น้ำปูน หรือเศษทรายและดิน เข้าไปในท่อได้ ซึ่งทำให้เกิดการติดขัดหรือชำรุดเสียหายต่อสายเคเบิล

จากหนังสือคู่มือความปลอดภัยด้านไฟฟ้าแรงสูง

แนะนำ โคมไฟทางเดิน

ระยะปลอดภัยต่ำสุด

ระยะปลอดภัยต่ำสุด

ระยะปลอดภัยต่ำสุด

ในการปฏิบัติงานต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือ นำวัตถุนำใดๆ เข้าใกล้ส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าค่าระยะปลอดภัยต่ำสุด  ยกเว้นกรณีมีสิ่งกันที่เหมาะสม สำหรับการทำงานที่มีระยะปลอดภัยน้อยกว่าระยะปลอดภัยต่ำสุด รวมถึงการติดตั้งและรื้อถอนสิ่งกัน สามารถทำได้โดย

  1. ใช้สิ่งกันที่เพียงพอ
  2. ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใช้กับงานที่มีไฟฟ้า
  3. มีระยะห่างที่เหมาะสม

วัตถุตัวนำ เช่น ฮาร์ดแวร์ที่รองรับลูกถ้วย ที่อยู่ในระยะที่น้อยกว่าระยะปลอดภัยต่ำสุด อาจจะสัมผัสกับผิวสัมผัสภายนอกของสิ่งกั้นที่ทำให้เกิดระยะปลอดภัยต่ำสุดกรณีมีสิ่งกันได้ อย่างไรก็ตาม วัตถุนั้นๆ ต้องติดตั้งอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการออกแบบ และต้องติดตั้งในลักษณะที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือมีการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด ซึ่งไม่ทำให้ระยะห่างที่ออกแบบไว้มีค่าลดลง

ห้ามเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลัง หรือ โหลด เข้าใกล้วงจรที่มีไฟฟ้า เกินกว่า 4.6 เมตร ยกเว้นเมื่อมีการกำกับดูแลของผู้สังเกตการณ์ความปลอดภัย ระยะปลอดภัยอาจมีค่าน้อยกว่าระยะปลอดภัยต่ำสุดได้ เมื่อวงจรไม่มีไฟฟ้า และต้องดำเนินการติดตั้งป้ายเตือน ติดตั้งระบบต่อลงดิน และมีสิ่งกันเพียงพอ

ระยะปลอดภัยของโครงสร้างรับน้ำหนักจากวัตถุอื่นๆ

โครงสร้างรับน้ำหนัก แขนรับน้ำหนักและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติด ที่ใช้ยึด จะต้องมีระยะปลอดภัยจากวัตถุอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  1. จาก หัวฉีดน้ำดับเพลิง ระยะปลอดภัยต้องไม่น้อยกว่า 0.9 เมตรกรณ๊มีพื้นที่เพียงพอควรไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร
  2. จากถนน ซอย และทางหลวง

–          ถนนที่มีของทางแบบ Redirectional และ Swale-type  จะต้องมีระยะห่างที่เพียงพอจากขอบถนน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสจากยานพาหนะทั่วไปหรือจอดอยู่บริเวณผิวถนนต้องมีระยะสูง จนถึง 4.6 เมต

–          ถนนที่ไม่มีของทาง โครงสร้างรับน้ำหนัก แขนรับน้ำหนักหรืออุปกรณ์อื่นๆที่ติดอยู่จะต้องมีระยะห่างเพียงพอจากขอบถนน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสจากยานพานะทั่วไปที่ใช้หรือจอดอยู่บนผิวถนน

  1. จากรางรถไฟฟ้า เมื่อทางรถไฟขนานหรือตัดผ่านสายส่งแบบสายอากาศ ทุกส่วนของโครงสร้างรับน้ำหนัก แขนรับน้ำหนัก สายยึดโยง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดอยู่กับโครงสร้างนั้น มีระยะความสูง 6.70 เมตรเหนือรางรถไฟ

ข้อยกเว้น

–          ระยะปลอดภัยที่ไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร อาจจะสามารถยินยอมได้ กรณีโครงสร้างรับน้ำหนัก ไม่เป็นอุปสรรคในการควบคุม ทั้งนี้ต้องมีระยะเพียงพอสำหรับทางรถยนต์ในกรณีขนส่งของขึ้นหรือลง

–          บริเวณย่านอุตสาหกรรม อนุญาตให้ใช้ระยะปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2.13 เมตร แต่ต้องจัดให้มีระยะห่างเพียงพอสำหรับรถในการขนส่งของขึ้นลง

แนะนำ โคมไฟภายนอก